วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

ว่าด้วยเรื่องการเขียน Adtext และ Dynamic Keyword ใน Adcenter ครับ

ใช่แล้วครับเค้าแบ่ง adtext ออกเป็น 4 ส่วนนะครับ ขออธิบายคร่าว ๆ ดังนี้นะครับ
1. Use your keywordsเค้าบอกว่าตรงส่วนนี้ถ้าใช้ keywords ที่เกี่ยวกับเรื่องที่เขาค้นหา จะทำให้ user ที่ค้นหาด้วย keyword นั้น ๆสนใจ adtext เรามากขึ้นครับ ตรงนี้เราใช้เป็น dynamic text ได้ครับ จะช่วยเพิ่ม ctr อีกเยอะเลยครับ
2. Stand out from the crowdตรงส่วนนี้ให้ใส่ข้อเสนอ ส่วนลด สิทธิพิเศษต่าง ๆ จะช่วยให้ โฆษณาของเรา ถูกคลิกได้ครับ ซึ่งก็อย่างที่เคยคุยกันไปในสัมมนานะครับ ตรงนี้ให้ใ่ส่คุณประโยชน์ของสินค้าเรา รวมถึงสิทธิต่าง ๆที่ผู้ค้นหาจะได้รับเมื่อกด ads เราไปครับ
3. Leverage ตรงนี้เขาแนะนำให้ใส่ brand name หรือ taglines ซึ่งเอาแบบลูกทุ่ง ๆ ก็คือใส่ยี่ห้อสินค้าหรือใส่ สโลแกน ของสินค้าเรานั่นเอง เช่น Thaisem, แบ่งปันที่สุดในโลก อะไรประมาณนี้ครับ อิอิ
4. Attention to Actionเขาให้ใส่ call to action ต่าง ๆ ดังตัวอย่างในรูปเลยครับ ซึ่ง call to action เหล่านี้จะมีส่วนช่วยให้ user click ads เราอย่างมากครับ ส่วน call to action ส่วนใหญ่ที่ผมชอบใช้จะเป็นBuy Now!, Buy Online!, Buy Here! ประมาณนี้ครับ ใส่ ! ไปข้างหลังให้ดูน่าคลิกด้วยครับ
5. อันนี้ผมเสนอแนะเอง Display URLควรใส่ Directory เข้าไปด้วย เช่น www.thaisem.com/Buy-Keyword เพื่อเป็นตัวเลือกอีกตัวให้กับ user ครับ เป็นการเน้น user ว่า เข้ามาแล้วต้องซื้อนะทีนี้มาลองดูตัวอย่าง Adtext ของผมกันนะครับสมมุติผมจะขาย canon powershot sd1000 ตัวเดิมที่เคยแนะนำในกระทู้ amazon แล้วกันนะครับผมจะทำ Adtext ดังนี้ครับ{keyword:Powershot Sd1000}20% Off {keyword:Powershot Sd1000} until 2008 atAmazon World Largest Store. Buy Now!http://www.amazon.com/%7Bkeyword:Buy Powershot}หลายคนอาจจะแปลกใจว่า เอ๊ะ adcenter มี default keywords แล้วเหรอ เมื่อก่อนใส่ไม่เห็นได้อันนี้ผมไปได้ข้อมูลจาก link นี้ครับ ลองกด help ของ adcenter เข้าไปดูนะครับhttps://help.live.com/Help.aspx?market=en-US&project=adcenter_ContentAds_beta_ss&querytype=topic&query=MOONSHOT_CONC_AboutParameters.htmจะพบว่าเค้าแนะนำไว้สองแบบดังนี้ครับ# When using {keyword}, {param2}, and {param3}, make sure that the variables don’t result in ads that are too long. Ad titles cannot exceed 25 characters, and ad text cannot exceed 70 characters. For example, if your ad title is "{keyword} free delivery" and one of your {keyword} variables is "Mountain bike parts," your ad will not be displayed.นั่นคือถ้าใช้ {keyword} เฉย ๆ ต้องระวังไม่ให้ adtext ยาวเกินครับ ถ้ายาวเกินเค้าจะ disapproved keyword คำนั้นครับ # When you insert dynamic text, you can include default text to be displayed if a variable causes the ad to exceed character limits. You can define defaults for all types of dynamic text: {keyword:default}, {param1:default}, {param2:default}, and {param3:default}. For example, if your ad title is "{keyword:Bike parts} free delivery," and if someone searches using your keyword "mountain bike parts," your ad title will be displayed as: "Bike parts free delivery." ส่วนอันนี้เค้าแนะนำให้ใส่ default ไว้ด้วย ซึ่งถ้ายาวเกินจะเอา default มาแสดงครับส่วนเรื่องการบังคับแสดงตัวเล็กใหญ่นั้น ไม่เห็นทาง microsoft กล่าวถึงไว้ครับ เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งครับที่ microsoft ไม่ยอมทำให้เราบังคับเล็กใหญ่ได้ แต่แค่ให้ใส่ default keyword ได้นี่ก็ถือว่า ok ขึ้นกว่าแต่ก่อนมากมายครับ เดี๋ยวรอเพื่อน ๆ คนอื่น ๆ ที่เคยทำ dynamic text มาตอบด้วยดีกว่าครับว่าเพื่อน ๆ คนอื่น ๆมีเทคนิคอย่างไรครับ สำหรับผมเท่าที่ลองนะครับ เวลา search ด้วยตัวเล็ก มันก็ขึ้นตัวเล็กครับ และ เวลา searchด้วยตัวใหญ่มันก็ขึ้นตัวใหญ่ ซึ่งตรงนี้จริง ๆ แล้วน่าจะให้เรา บังคับได้เหมือน adwords เพราะว่าไม่มี user คนไหนหรอกครับ ที่มัวเสียเวลาเขียนตัวใหญ่เวลา search ถึงจะมีก็ส่วนน้อยครับอย่างไรแล้วหวังว่าเพื่อน ๆ คงได้ความรู้กันไปบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ

เริ่มต้นโปรโมตบล็อกด้วยวิธีง่ายๆ

ใครๆ ก็สร้างบล็อกได้ แต่จะทำอย่างไรให้คนเข้ามาในบล็อกของเราที่สร้างไว้ และจะทำอย่างไรให้คนที่เข้ามาดูที่บล็อกครั้งหนึ่งแล้ว อยากจะกลับเข้ามาดูอีก จุดนี้ต้องอาศัยกลยุทธ์ ปัจจุบันคนที่สร้างบล็อกของตัวเองมีอยู่มากมาย แถมบางคนยังสร้างไว้หลายๆ ที่อีกด้วย นั่นเป็นเพราะเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อกแต่ละแห่งมีเสน่ห์ มีความเฉพาะตัวไม่เหมือนกัน สังคมแต่ละที่ไม่เหมือนกัน แต่เมื่อสร้างบล็อกของตัวเองขึ้นมาแล้ว จะทำอย่างไรให้มีคนเข้ามาดู จะทำอย่างไรให้มีคนสนใจ นี่คือจุดสำคัญ
คนเล่นบล็อกส่วนใหญ่มักจะเริ่มเล่นเพราะถูกชักชวนจากเพื่อนๆ หรือคนรู้จัก หรือเห็นคนอื่นๆ เล่นจึงอยากลองเล่นบ้าง บางคนต้องการสร้างพื้นที่ส่วนตัวเพียงเพื่อระบายความคิด ความในใจ หรือเก็บบันทึกความทรงจำของตัวเอง ซึ่งเมื่อก้าวเข้าไปในสังคมนั้นแล้วก็ต้องการสร้างเครือข่ายเพื่อนสนิท เพื่อนใหม่ และเพื่อนเก่า ให้เกิดขึ้นบนออนไลน์ด้วย เพื่อให้การติดตามความเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ แต่ละคนทำได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังติดต่อกันง่ายขึ้นด้วย การเริ่มต้นเกณฑ์คนให้เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของคุณจากเพื่อนสนิทหรือคนใกล้ตัว ก่อนนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่การจะให้คนไม่รู้จักกันเข้ามาที่บล็อกคุณนี่สิเป็นสิ่งที่ยากกว่า ต้องอาศัยความพยายามและต้องมีเวลาให้กับการโปรโมตบล็อกของตัวเองมากทีเดียว โดยเฉพาะคนที่สร้างบล็อกขึ้นมาเพื่อขายของหรือสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้ตัวเอง ยิ่งต้องขยันโปรโมตบล็อกให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งวิธีการโปรโมตนั้นก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน วิธีเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่ทั้งหลายหรือคนที่คุ้นเคยกับการเล่นบล็อก อยู่แล้วก็สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้มากนัก เพียงแต่นำทุกช่องทางที่คุณมีอยู่ในมือมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งอาศัยความอดทนและให้เวลากับการสร้างกระแสเพื่อโปรโมตบล็อกของคุณสัก หน่อย
ขั้นตอนแรก หลังจากสร้างคอนเทนต์บนบล็อกของตัวเองแล้ว ก็นำคอนเทนต์ที่สร้างขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นรูปหรือเรื่องต่างๆ ที่เขียนขึ้นไปโพสต์ไว้ในบล็อกของเพื่อนที่อยู่คนละแห่งกัน เช่น บล็อกที่คุณสร้างอยู่ที่ myspace แต่ของเพื่อนคุณใช้ที่พันทิป ก็นำคอนเทนต์ที่คุณสร้างให้เพื่อนไปโพสต์เอาไว้ในบล็อกของเขา ซึ่งถ้าคุณยังเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ก็ควรเลือกบล็อกที่มีคนนิยมเข้ามาดูอยู่ สักหน่อย เพื่อช่วยโปรโมตให้เป็นที่รู้จักเร็วขึ้น แล้วสร้างลิงก์หรือให้ที่อยู่ของที่มาของเรื่องนั้นๆ ที่นำไปโพสต์ เพื่อให้คนดูกลับเข้ามายังบล็อกของคุณอีก วิธีการนี้ถ้าคอนเทนต์ที่คุณสร้างมีความน่าสนใจ ก็จะมีคนคลิกกลับเข้ามายังบล็อกของคุณ เพื่อจะดูหรืออ่านคอนเทนต์อื่นๆ ที่คุณสร้างเอาไว้อีก อีกทั้งยังทราบด้วยว่าคนดูชอบอะไร ชอบเรื่องแบบไหน เพราะบล็อกบางแห่งจะมีเคาน์เตอร์นับไว้ให้ว่าแต่ละเรื่องแต่ละคอนเทนต์มีคน เปิดเข้าไปดูกี่ครั้ง จากนั้นก็ป้อนเนื้อหาที่แต่ละแห่งชอบเข้าไปให้บ่อยๆ
การสร้างคอนเทนต์ควรสร้างให้หลากหลายและอัพเดตบ่อยๆ เพราะแต่ละคนจะชอบหรือให้ความสนใจที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งก็ต้องมีการทดลองตลาดด้วยการนำคอนเทนต์หลากหลายประเภทไปโพสต์เอาไว้ จากนั้นจะทราบว่าแต่ละที่เหมาะกับคอนเทนต์ประเภทไหนจากจำนวนผู้สนใจเข้าชม หรืออ่านคอนเทนต์ของคุณ
ขั้นต่อไปก็เริ่มเข้าไปสมัครในเว็บบอร์ดหรือฟอรั่มต่างๆ ยิ่งถ้าเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่มีอยู่ในบล็อกของคุณด้วยยิ่งดี เช่น ถ้าเป็นบล็อกเกี่ยวกับท่องเที่ยว ก็เข้าไปสมัครเป็นสมาชิกในเว็บบอร์ดด้านท่องเที่ยว โดยวิธีการหาเว็บบอร์ดหรือฟอรั่มเพื่อเข้าไปเป็นสมาชิกทำได้จากการค้นหา Google หรือเว็บฯ ที่ให้บริการ Search Engine ต่างๆ โดยใช้คีย์เวิร์ด เช่น travel + webboard + forum เป็นต้น หรือจะสมัครในเว็บบอร์ดที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบล็อกของคุณก็ได้เช่น กัน แต่ที่สำคัญควรเลือกเป็นสมาชิกกับเว็บบอร์ดดังๆ ที่มีคนเข้ามาใช้บริการมากเป็นหลัก
เมื่อสมัครเข้าไปเป็นสมาชิกในเว็บบอร์ดต่างๆ แล้วก็ต้องขยันเข้าไปคอมเมนต์ในเว็บบอร์ดบ่อยๆ ซึ่งตอนที่สมัครเป็นสมาชิกเว็บบอร์ดจะมีการให้สร้าง Signature ของตัวเองด้วย ซึ่งตรงจุดนี้แหละที่จะช่วยสร้าง Back Link ไปยังบล็อกของคุณได้ ถ้าจะสร้างกระแส สร้างเพื่อน ให้คนในสังคมบล็อกที่คุณไปอาศัยอยู่นั้นเป็นที่รู้จัก ก็ควรขยันเข้าไปคอมเมนต์เพื่อนๆ ที่อยู่ในสังคมบล็อกเดียวกับคุณ จากนั้นก็จะมีคนเข้ามาคอมเมนต์คุณกลับ รวมทั้งอ่านเนื้อหาต่างๆ ที่อยู่ในบล็อกของคุณ ซึ่งถ้าทำอย่างนี้บ่อยๆ บวกกับคุณมีการอัพเดตเนื้อหาอยู่เสมอ มีเนื้อหาในบล็อกที่น่าสนใจ ก็จะทำให้มีคนกลับเข้ามาเยี่ยมชมติดตามอยู่เรื่อยๆ
ขั้นต่อไป เข้าไปใส่ลิงก์ของคุณไว้ตามฟรีเว็บไดเร็กทอรี่ต่างๆ โดยขั้นตอนนี้ต้องใช้ความพยายามสักหน่อย ต้องใช้เวลาค่อนข้างมากเพราะต้องสมัครให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้การสร้าง Signature โฆษณาบล็อกตัวเองไว้ที่อีเมลที่คุณใช้ ก็ช่วยสร้างทราฟฟิกเข้ามายังบล็อกได้มาก เพราะทุกๆ วันคุณต้องมีการส่งอีเมลหาคนอื่นๆ อยู่แล้ว ซึ่งทุกๆ ครั้งที่คุณส่งอีเมลไป คนที่ได้รับอีเมลจากคุณก็จะเห็นที่อยู่บล็อกของคุณ หรือคำโฆษณาบล็อกของคุณ ซึ่งนำไปสู่การจดจำและเข้าไปเยี่ยมชมที่บล็อกของคุณต่อไปได้ อีกทั้งการสร้าง Signature ในอีเมลนั้นก็มีฟีเจอร์ให้บริการอยู่แล้วในอีเมล อยู่ที่ว่าคุณจะเขียนอะไรลงไปเท่านั้น
ส่วนขั้นต่อไปจะเริ่มเข้าสู่ระดับมืออาชีพขึ้นมาหน่อย นั่นคือการใช้เทคโนโลยี RSS เข้ามาช่วย โดยแหล่งให้บริการบล็อกส่วนใหญ่จะมีการนำบริการ RSS feed เข้ามาให้บริการ แต่ถ้าบล็อกที่คุณใช้ไม่มีซอฟต์แวร์ช่วยสร้าง RSS feed ขอแนะนำให้ใช้ซอฟต์แวร์อย่าง FeedForAll (www.feedforall.com ) เข้ามาช่วยสร้าง RSS feed ซึ่งการที่มีผู้เล่นบล็อกจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้การใช้ RSS มีการเติบโตมากขึ้น และ RSS ยังเป็นที่นิยมใช้กันทั่วโลกอีกด้วย หากเราต้องการให้คอนเทนต์ของเราที่สร้างขึ้นมาถูกอัพเดตไปยังเว็บฯ อื่นๆ ก็ต้องเข้าไปสมัครตามเว็บฯ ที่มีให้บริการ RSS Submissions/Blog Submissions ให้มากที่สุด ซึ่งมีเว็บไซต์จำนวนมากที่อนุญาตให้คุณนำ URL ของ RSS feed ของคุณไปแปะเอาไว้ที่เว็บไซต์เหล่านั้น เช่นที่ www.rss-specifications.com/rss-submission.htm เป็นต้น โดยที่เว็บฯ นี้จะรวมเว็บฯ ที่ให้คุณสามารถนำ URL ของ RSS feed ของคุณไปแปะเอาไว้ได้ ซึ่งเมื่อทุกครั้งที่คุณมีการอัพเดตข้อมูลก็จะถูกอัพเดตไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ที่คุณไปฝาก URL เอาไว้ด้วย แต่ถ้าเราต้องการจะรับข้อมูลของที่อื่นๆ เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของเนื้อหาหรือบทความที่คุณชื่นชอบก็สามารถทำได้ เช่นกัน โดยเข้าไปสมัครเป็นสมาชิกในหน้าเว็บฯ หรือบล็อกนั้น โดยการคลิกเข้าไปที่สัญลักษณ์ RSS หรือ RSS Link ที่อยู่ในบล็อกหรือเว็บไซต์นั้น เพียงเท่านี้คุณก็จะติดตามเนื้อหา ความเคลื่อนไหวของเว็บฯ ที่คุณชื่นชอบได้แล้ว สมัยนี้การใช้เทคโนโลยี RSS ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด เพราะปัจจุบันเบราเซอร์ต่างๆ ทั้ง Internet Explorer หรือ Mozilla Firefox ก็มีฟังก์ชั่นรองรับ RSS อยู่บน tools bar แล้ว ซึ่งทำให้การอ่านเรื่องต่างๆ ที่สนใจทำได้ง่ายขึ้น
นี่เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะทำให้บล็อกของคุณดังขึ้นมาได้ มีทราฟฟิกวิ่งเข้ามายังบล็อกของคุณเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าเมื่อไรที่คุณคิดจะใช้บล็อกของคุณเพื่อทำธุรกิจก็ควรจะต้องตั้งเป้า ให้กับบล็อกที่คุณสร้างขึ้นมานี้เอาไว้ด้วย เช่น ภายในเดือนเมษายนจะต้องมีคนเข้ามายังบล็อกของคุณกี่ราย, ต้องการให้มีคนเข้ามาเยี่ยมชมบล็อกกี่คนต่อวัน, ภายใน 3 เดือนจะต้องมีคนเข้ามาเยี่ยมชมบล็อกเพิ่มขึ้นเท่าตัว, จะมีการเปิดบล็อกใหม่อีกมากกว่า 2 บล็อกใน 6 เดือน, จะมีความถี่ในการโพสต์ข้อมูลกี่ครั้งต่อสัปดาห์, จะสร้างรายได้จากบล็อกเป็นจำนวนเงินเท่าไรในปีนี้ เป็นต้น ถ้าคุณตั้งใจที่จะสร้างบล็อกเพื่อใช้ในเชิงธุรกิจก็ควรวางแผนอย่างมีวิสัย ทัศน์ เพื่อสร้างให้บล็อกของคุณดำเนินไปอย่างมีทิศทางและเดินไปยังจุดหมายปลายทาง ที่ตั้งใจไว้ได้ แต่ถ้าคุณยังไม่ทราบว่าจุดไหนที่คุณต้องการจะไป แล้วคุณจะทราบได้อย่างไรว่าก้าวไปถึงยังจุดที่ตั้งใจเอาไว้แล้ว ดังนั้นควรวางเป้าหมายเอาไว้ให้ชัดเจนตั้งแต่เริ่มแรก จะได้ไม่เสียเวลาไปกับการหลงทาง ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณแล้วว่าจะมีความขยัน มีเวลาทุ่มเทให้กับการโปรโมตบล็อก และมีเวลาสร้างคอนเทนต์ได้มากแค่ไหน ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้บล็อกของคุณดังขึ้นมาได้ แต่ต้องอาศัยระยะเวลาและพละกำลังอยู่มากทีเดียว แต่ถ้าเมื่อไรที่คุณเริ่มติดอันดับ Google เริ่มมีการเก็บข้อมูล จัดเรตค่าพีอาร์ให้กับเว็บฯ ของคุณ การจะทำอะไรต่อไปกับบล็อกของคุณก็จะทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งนั้นหมายถึงเม็ดเงินที่จะไหลเข้ามาในกระเป๋าของคุณต่อไปในวันข้างหน้า ด้วย
โดย :
freemaxsite

Archive for the ‘ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับ affiliate’

ศัพท์น่ารู้ในการทำ Affiliate กับ PPC

Ad, Ads, Ads Textข้อความโฆษณา
Adcenter
ระบบโฆษณาแบบ Pay Per Click ของ Microsoft
Advertiser, Merchant, Vendor
เว็บไซต์หรือเจ้าของสินค้าที่เข้าร่วมหรือใช้บริการระบบ Affiliate Marketing ของ Affiliate Providers
Adwords
ระบบโฆษณาแบบ Pay Per Click ของ Google
Affiliate (AFF)
ตัวแทนขายสินค้า
Affiliate Marketer
นักการตลาดตัวแทนขายสินค้า
Affiliate Marketing
การทำการตลาดโดยอาศัยตัวแทนโฆษณา
Affiliate Network, Affiliate Providers
เว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเว็บไซต์ขายสินค้าและตัวแทนโฆษณา
Affiliate program
รูปแบบหรือแผนการขายสินค้าของเว็บไซต์ผ่านระบบตัวแทนโฆษณา
ASIN
ระหัสสินค้าของ Amazon.com
Banner
ป้ายโฆษณาที่นำไปติดบนเว็บไซต์
Bid
การประมูล Keywords ที่จะใช้โฆษณาบน PPC
Consumer Products
สินค้าอุปโภคบริโภค
Conversion Rate
อัตราการซื้อสินค้าโดยวัดจากจำนวนการคลิกโฆษณาต่อการซื้อสินค้า 1 ชิ้น เทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น มีคนคลิกโฆษณา 35 คลิก และมีคนซื้อสินค้า 1 ชิ้น ดังนั้น Conversion Rate เท่ากับ (1/35) x 100% = 2.85%
Cookies
เป็นวิธีการที่เว็บไซต์ใช้เก็บสถานะการใช้งานต่างๆ ของผู้เยี่ยมชม ในการทำ Affiliate Marketing เป็นประโยชน์ในกรณีที่คนคลิก โฆษณาผ่าน LinkID ของเราแต่ยังไม่ซื้อสินค้าในทันที แต่กลับมาซื้อวันหลังเราก็ยังได้ค่าคอมมิสชัน
CPC (Cost Per Click)
ค่าโฆษณาที่ต้องจ่ายต่อการคลิก 1 ครั้ง ในการทำโฆษณาแบบ PPC
CTR (Click Through Rate)
อัตราการคลิกโฆษณาต่อการการแสดงโฆษณา เทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น โฆษณาแสดง 100 ครั้ง มีคนคลิกโฆษณา 5 ครั้ง ดังนั้น CTR มีค่าเท่ากับ (5/100) x 100% = 5%

Destination URL
URL ของเว็บไซต์ที่ต้องการให้แสดงเมื่อมีคนคลิกผ่านโฆษณา ในการทำโฆษณา PPC ปกติจะหมายถึง LinkID ของเรา
Digital Product
สินค้าที่ผู้ซื้อสามารถดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ตได้เลย
Direct Deposit
รูปแบบการรับเงิน โดยการโอนผ่านธนาคารโดยตรง
Display URL
ชื่อของเว็บไซต์ที่ต้องการแสดงบนข้อความโฆษณา
EPC (Earn Per 100 Clicks)
รายได้หรือค่าคอมมิสชันที่ได้รับโดยวัดจากจำนวนคลิก 100 คลิก เช่น ถ้ามีคนคลิกโฆษณาของเรา 200 คลิก ค่าคอมมิสชันที่เราได้รับคือ $40 ดังนั้น EPC จะเท่ากับ (40×100)/200 = $20
Get Links
การขอ LinkID เพื่อนำไปโฆษณา
Gift Certificates
บัตรกำนัลใช้ซื้อของออนไลน์ของ Amazon
Impression (Impr)
จำนวนครั้งที่ข้อความโฆษณาแสดง
KEI (Keyword Effectiveness Index)
ค่าที่ได้จากการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการค้นหากับจำนวนเว็บไซต์ที่มีการแข่งขันกันใน Keywords นั้นๆ
Keywords
คำที่ใช้ค้นหาบน Search Engine หรือ คำที่เราประมูลเพื่อทำโฆษณาแบบ PPC
Landing Page
หน้าเว็บเพจที่จะเห็นเป็นหน้าแรกหลังจากที่คลิกโฆษณา
LinkID
ลิงก์ที่เอาไว้ใช้ทำโฆษณาสำหรับผู้ที่สมัครเป็นตัวแทนขายสินค้า(Affiliate)
Market Research
กระบวนการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ ตีความและรายงานข้อมูลทาง การตลาดที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าหรือบริการ
Niche Keywords
Keywords ที่เฉพาะเจาะจงถึงสินค้านั้นๆ
Niche market
ตลาดที่มีคู่แข่งน้อยแต่มีความต้องการในตัวสินค้าหรือบริการมาก
Nickname
ชื่อที่ใช้อ้างอิงในการทำ Affiliate กับทาง Clickbank.com
Paypal
ระบบการชำระเงินออนไลน์รูปแบบหนึ่ง
PID (Publisher Identification)
หมายเลขที่ใช้อ้างอิงระบุถึงตัวแทนโฆษณาแต่ละคนของ CJ.com
PPC (Pay Per Click)
ระบบการทำโฆษณาที่คิดค่าโฆษณาตามจำนวนคลิกข้อความโฆษณา

Publisher, Partner, Associates
ตัวแทนขายสินค้าหรือตัวแทนโฆษณา ความหมายเหมือน Affiliate
Quality Index
ค่าที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการทำโฆษณาบน PPC ของ Yahoo
Quality Score
ค่าที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการทำโฆษณาบน PPC ของ Google
Ranking
การจัดอันดับโฆษณาบน PPC
ROI (Return On Investment)
การวัดผลตอบแทนจากการลงทุน
SEM (Search Engine Marketing)
การทำการตลาดโดยใช้ Search Engine
SEO (Search Engine Optimization)
การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ Search Engine รู้จักและเข้าถึงเนื้อหาของเว็บไซต์ของเราได้
SID
ค่าที่ใช้ในการติดตามและวัดผลโฆษณาของ CJ.com
Spam Mail
อีเมลที่ส่งไปยังผู้รับโดยที่ผู้รับไม่ต้องการ
Split Testing
วิธีการทดสอบโดยใช้การเปรียบเทียบ เช่น เปรียบเทียบ Keywords, เปรียบเทียบสินค้า, เปรียบเทียบข้อความโฆษณา เป็นต้น
SWIFT
รหัสที่ใช้อ้างอิงสำหรับธนาคารในประเทศไทย สำหรับรับเงินโอนจากต่างประเทศ
Text Link
ลิงก์ที่เป็นข้อความ
TID
ค่าที่ใช้ในการติดตามและวัดผลโฆษณาของ ClickBank.com
Tracking
การติดตามและวัดผลการทำโฆษณาผ่าน PPC
Tracking ID
ค่าที่ใช้ระบุในการติดตามและวัดผลโฆษณา
Traffics
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
Wire Transfer
รูปแบบการรับเงินโอนจากต่างประเทศเข้าบัญชีธนาคารโดยใช้ SWIFT CODE
Y!SM (Yahoo! Search Marketing)
ระบบโฆษณาแบบ Pay Per Click ของ Yahoo
ที่มา:http://www.thaiaffpro.com

Archive for the ‘ทำความรู้จักกับ affiliate’

Affiliate คืออะไร
เอาแบบง่ายๆ เลยมันคือการเป็นตัวแทนขายของ ขายของในที่นี้มันอาจจะเป็นสินค้าต่างๆ(Products) หรือการให้บริการต่างๆ(Services) ที่เราพบเห็นทั่วไปในชีวิตประจำวัน อยากให้นึกถึง salesman พอนึกถึงเซลแมน บางคนอาจจะนึกถึงคนที่แต่งตัวดูดี ถือกระเป๋าเอกสารหรือกระเป๋าสินค้ามาเคาะประตูตามบ้าน เพื่อเสนอสินค้าหรือบริการต่างๆ ถ้าหากว่าเค้าขายของได้ เค้าจะได้อะไรครับ? 555 ก็ได้ค่า commission ไงครับ(เออ แล้วจะถามทำไม ถามเองตอบเอง) ซึ่งมันเป็นลักษณะเดียวกันกับการทำ affiliate แต่ที่แตกต่างกันก็คือ affiliate มันเป็นการขายของ online หรือบนอินเตอร์เน็ตนั่นเอง บางคนอาจจะมีคำถามว่าแล้วไม่ขายออนไลน์ได้มั๊ย คำตอบคือ ได้ครับ แต่ที่ผมบอกว่าเป็นการขายของonlineนั้น เพราะส่วนใหญ่เค้าทำกัน บนอินเตอร์เน็ต โดยส่วนมากจะเป็นเว็บไซต์ที่มีการขายสินค้าหรือบริการผ่านอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันในบ้านเรายังมีเว็บไซต์ที่มีระบบ affiliate ไม่เยอะเท่าไหร่นัก แต่ถ้าเป็นต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาหรือฝั่งยุโรปจะมีการทำระบบ affiliate มานานพอสมควรซึ่งสามารถทำกำไรได้อย่างมากมายให้กับเว็บไซต์เจ้าของสินค้า สาเหตุหลักๆ ที่ธุรกิจในรูปแบบนี้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผมคิดว่าคงเป็นเพราะ โลกอินเตอร์เน็ตเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มากและสามารถขยายขอบเขตไปได้ทั่วโลกและไร้พรมแดน ส่วนอีกสาเหตุนึงที่ผมคิดว่ามีผลมากๆ ก็คือเรื่องของต้นทุนในการโฆษณา เพราะเว็บไซต์ที่มีระบบ affiliate หรือ เจ้าของสินค้าแทบจะไม่ต้องลงทุนในการโฆษณาเลย ปล่อยให้ตัวแทน หรือคนที่มาสมัครทำaffiliate นำสินค้าไปโปรโมทหรือโฆษณาให้ ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาก็ไปตกอยู่กับคนที่ทำ affiliate จากนั้นเจ้าของสินค้าแบ่งปันกำไรที่ขายได้ให้กับเราในรูปแบบของ commission ส่วนรูปแบบในการจ่ายผลตอบแทนหรือ commission นั้นได้แก่ EPL(Earn per lead) คือได้รับเมื่อมีคนสมัครหรือกรอกแบบฟอร์มต่างๆที่เจ้าของสินค้ากำหนด, EPA(Earn per action) ส่วนใหญ่จะได้รับเมื่อมีคนซื้อของ, EPC(Earn per click) คือจ่ายเมื่อมีคนคลิกโฆษณา เป็นต้น ส่วนจะได้มากได้น้อยก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของสินค้าเป็นคนกำหนด

ที่มา:http://www.thaiaffpro.com/